ภาพรวมอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ของไทย และ ต่างประเทศ

  

ภาพรวมอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ของไทย และ ต่างประเทศ

ภาพรวมอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ของไทย และ ต่างประเทศ

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญทางด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดตาม เทรนด์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานโซล่าเซลล์ เนื่องจากพลังงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกหลักที่ทั่วโลกเลือกใช้รวมถึงผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Solar Cells and Modules-Global Market Trajectory & Analytics ของ Global Industry Analysts Inc., (GIA) ที่ได้มีการคาดการณ์ว่า ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูลทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 127.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2026

ภาพรวมการใช้งานโซล่าเซลล์ของโลก

รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกต่างก็เร่งผลักดันนโยบายทางด้านโซล่าเซลล์ ทำให้ในปัจจุบันการติดตั้งระบบ การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ จากแผงโซล่าเซลล์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกำลังการติดตั้งสะสมทั่วโลกทั้งหมด ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 714 กิกะวัตต์ (GW) ทั้งนี้ ประเทศ 5 อันดับแรก ที่มีก าลังการติดตั้งโซล่าเซลล์มากที่สุดในโลก ในปี 2020 ได้แก่

1) จีน มีกำลังการติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วทั้งสิ้น 254,355 เมกะวัตต์ (MW)ซึ่งจีนได้มีการตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 1,200 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030 นอกจากนี้ ยังได้ มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 การบริโภคพลังงานทดแทนในประเทศจีนจะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 ของการบริโภคพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของจีน หรือคิดเป็นร้อยละ 86 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าของจีน ทั้งนี้ จีนถือเป็นผู้นำในตลาดสินค้าโซล่าเซลล์ของโลก โดยได้รับอุปสงค์ภายในประเทศจากการเพิ่มกำลังผลิตของพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อควบคุมปัญหาด้านมลภาวะและอุปสงค์จากต่างประเทศ ได้แก่ เทรนด์พลังงานสะอาดที่กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

2) สหรัฐฯ มีกำลังการติดตั้งโซล่าเซลล์แล้ว ทั้งสิ้น 75,572 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งสหรัฐฯ ได้ ตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอน ร้อยละ 80 ในภาคการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2030 และมุ่งสู่การใช้ พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ภายในปี 2035 นอกจากนี้ TheSolarFuturesStudyโดย Department of Energy ยังเผยว่ า ในปี 2035 สห รัฐฯ จะมี ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ถึง ร้อยละ 40 ของการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ ทั้งนี้ พลังงานแสงอาทิตย์จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยน ภาคพลังงานของสหรัฐฯ ให้เป็นพลังงานสะอาดและ จะช่วยทำให้สหรัฐฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการ ลดการปล่อยคาร์บอนได้ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

3) ญี่ปุ่น มีกำลังการติดตั้งโซล่าเซลล์แล้ว ทั้งสิ้น 67,000 เมกะวัตต์ (MW) โดยแหล่งพลังงาน ทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน หมุนเวียนอื่น ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นตั้งแต่เกิด ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2011 ทั้งนี้ กำลังการ ติดตั้งโซล่าเซลล์ของญี่ปุ่นอาจสูงถึง 100 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2025 ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล และต้นทุนโซล่าเซลล์

4) เยอรมนี มีกำลังการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แล้วทั้งสิ้น 53,783 เมกะวัตต์ (MW) โดยรัฐบาล เยอรมันได้เสนอให้เพิ่มเป้าหมายการติดตั้ง โซล่าเซลล์ เป็น 100 กิกะวัตต์ (GW) ในปี 2030 และ แม้ว่าเยอรมันจะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่พื้นที่ที่มีแดดน้อย แต่ร้อยละ 50 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศมาจากแสงอาทิตย์และคาดว่าตัวเลข ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 65 ภายในปี 2030

5) อินเดีย มีกำลังการติดตั้งโซล่าเซลล์แล้ว ทั้งสิ้น 39,211 เมกะวัตต์ (MW) โดยอินเดียได้ ตั้งเป้าหมายในการเพิ่มการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ เป็น 280 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030-2031 อีกด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า ในปี 2020 ที่ผ่านมา กำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มีปริมาณรวม 12,005 เมกะวัตต์(MW) เพิ่มขึ้นจากปี ก่อนร้อยละ 1.3 โดยเป็นกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์2,979.4 เมกะวัตต์ (MW)หรือคิดเป็นร้อยละ 24.8

ภาพรวมอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ไทย

โซล่าร์เซลล์

จากกราฟที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2018-2020 การนำเข้าสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ยังไม่ได้ ประกอบ (HS 85414021) ของไทยจากทั่วโลกมีการขยายตัว โดยประเทศนำเข้าหลักของไทย ได้แก่ จีน เวียดนามและมาเลเซีย ในขณะที่การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปทั่วโลกกลับหดตัว โดยประเทศส่งออก หลักของไทย ได้แก่ เวียดนาม
จากกราฟที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2018-2020 การนำเข้าสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ประกอบ ขึ้นเป็นโมดูลหรือทำเป็นแผง (HS 85414022) ของไทยจากทั่วโลกมีการขยายตัว โดยประเทศนำเข้าหลักของ ไทย ได้แก่ จีน ขณะที่การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปทั่วโลกก็มีการขยายตัวเช่นกัน โดยประเทศส่งออก หลักของไทย ได้แก่ สหรัฐ ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง ร้อยละ 97

จะเห็นได้ว่า ไทยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ในการส่งออกสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นโมดูล หรือทำเป็นแผง (HS 85414022) ค่อนข้างมาก โดยความต้องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ จะทำให้การ ส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปสหรัฐฯ ขยายตัวมากขึ้น ในขณะที่เวียดนามนั้น ก็เป็นอีกประเทศที่ ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสนใจเนื่องจากการผลิตพลังงานหมุนเวียนในเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานแสงอาทิตย์นั้นได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิต พลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นร้อยละ 15-20 ภายในปี 2030 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25-30 ภายในปี 2045

ENRICH ENERGY ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

ENRICH ENERGY ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

สนใจ โซล่ารูฟท็อป หรือ อินเวอร์เตอร์ สามารถติดต่อเราได้ที่ 065-845-8698

ต้องการทราบรายละเอียดการติดตั้งระบบ โซล่ารูฟท็อป คลิก https://bit.ly/solarrich

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การดูแลรักษาไฟเส้น LED ให้มีประสิทธิภาพ

Solar API เทคโนโลยีใหม่ของ Google สิ่งที่ช่วยคำนวณการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทั่วโลก

โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ vs สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ใช้งานต่างกันอย่างไร?