แผงโซล่าเซลล์กระจกใสใช้งานได้จริงหรือไม่ ?

 


แผงโซล่าเซลล์กระจกใสใช้งานได้จริงหรือไม่ ?

แผงโซล่าเซลล์กระจกใสใช้งานได้จริงหรือไม่ ?

แผงโซล่าเซลล์กระจกใสใช้งานได้จริงหรือไม่ ? ด้วยลักษณะของแผงโซล่าเซลล์ในปัจจุบันเราก็คงจะเคยเห็นแผงสีฟ้า ดำ หรือน้ำเงินที่ติดไว้บนหลังคากันขึ้นมาก่อนแต่ในอนาคตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไวต่อสีย้อม Dye-sensitized solar cells (DSC) อีกไม่นานโซล่าเซลล์ที่เราคุ้นเคยกัน ก็อาจจะพัฒนามาเป็นแบบที่มี "ความใส" มากพอที่จะนำมาทำกระจกติดที่หน้าต่างเลยก็ได้ มีราคาถูก โปร่งใส และยืดหยุ่น เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะสร้างสถิติใหม่ในด้านประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแสงที่มองเห็นเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้เป็นแผงโซล่าเซลล์เก็บพลังงานได้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ École Polytechnique Fédérale de Lausanne (EPFL) ในสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด (DSC) แบบใหม่ ประสิทธิภาพที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมากมายทำให้แผงผลิตพลังงานราคาไม่แพง มีความใส และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางสามารถช่วยให้ลดโลกร้อนได้สร้างโลกที่ปราศจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและก๊าซเรือนกระจกได้

นอกจากนี้ ยังสามารถผลิต DSC ให้มีความยืดหยุ่นได้ ซึ่งหมายความว่าเหมาะสำหรับฝังลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาและเครื่องใช้ IOT(Internet Of Thing) เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เป็นต้น โซล่าเซลล์ที่ไวต่อสีย้อมในปัจจุบันมีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ทั่วไปในการแปลงแสงแดดเป็นพลังงาน
ความก้าวหน้าล่าสุดในสารไวแสงและส่วนประกอบอื่นๆ ของ DSC ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการแปลงภายใต้สภาพแสงอาทิตย์และสิ่งแวดล้อม ตอนนี้ ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาแนวทางใหม่ที่สามารถทำให้อัตราประสิทธิภาพสูงถึง 15.2% เป็นครั้งแรกภายใต้แสงแดดจำลอง โดยรักษาเสถียรภาพการปฏิบัติงานในระยะยาวได้นานกว่า 500 ชั่วโมงในระหว่างการทดสอบ ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้งานเป็น 2.8 ซม. 2 ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานถึงอัตราสูงสุดที่ 30.2 เปอร์เซ็นต์

นักวิทยาศาสตร์ได้บรรลุผลลัพธ์ที่ก้าวล้ำโดยการปรับปรุงการบรรจุโมเลกุลของสีย้อมไวแสงที่ออกแบบใหม่สองตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโซล่าเซลล์ของ DSC ทีมงานอธิบายว่าเครื่องรับแสงแบบใหม่สามารถเก็บแสงได้ทั่วทั้งโดเมนแสงที่มองเห็นได้ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็ล้วนแต่จะนำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ของการใช้โซล่าเซลล์ เพื่อทำเป็นกระจกสำหรับ หน้าต่าง อาคารกระจก หรือแม้แต่เรือนกระจก อย่างแพร่หลายเลยนั่นเอง

แผงโซล่าเซลล์กระจกใส

 

การค้นพบใหม่เหล่านี้ "ปูทางสำหรับการเข้าถึง DSC ที่มีประสิทธิภาพสูงและเสนอโอกาสที่มีแนวโน้ม" สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน วันหนึ่ง DSC ที่มีประสิทธิภาพอาจกลายเป็นหน่วยจ่ายไฟและเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานต่ำ โดยใช้แสงธรรมชาติที่เรียบง่ายเป็นแหล่งพลังงานหลักชาร์จเข้าในแผงโซล่าเซลล์ ในเวลาเดียวกัน อาคารขนาดใหญ่และเรือนกระจกสามารถเลี้ยงสายส่งไฟฟ้าโดยสร้างพลังงานมากกว่าที่ใช้ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้ประหยัดไฟและค่าไฟมากขึ้นในระยะยาว

การปรับขึ้นค่าไฟของปี 2566

เบื้องต้นคาดการณ์ว่าค่าไฟงวดแรกของปี 2566 อาจจะใกล้เคียงกับงวดสุดท้ายของปี2565 ที่เรียกเก็บทั้งสิน 93.48 สตางค์ เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้างวดแรกต้องสูงมากกว่า 4.72 บาทต่อหน่วย ซึ่งขณะนี้จะต้องรอการประชุมของบอร์ด กกพ. ที่จะนำต้นทุนทั้งหมดมาประเมินโดยคาดว่าจะประกาศค่าไฟในงวดใหม่ได้ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ การใช้โซล่าเซลล์ทำให้สามารถประหยัดในการจ่ายค่าไฟได้ในระยะยาว กระทรวงพลังงานจะทำทุกวิธีที่ทำให้ค่าไฟคงอยู่ในระดับ 4.72 บาทเหมือนปัจจุบัน ตอนนี้ต้นทุนราคา แอลเอ็นจี (LNG) เฉลี่ยที่ประมาณ 34 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งจากการคำนวณหากราคาแอลจีขยับขึ้นไป ถึง 50-55 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จึงส่งผลให้ราคาค่าไฟปรับขึ้นจาก 4.72 บาท เป็น 7 บาท ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้าแทนจึงคุ้มค่ากว่าหากราคาน้ำมันอยู่ที่ไม่เกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน ในไตรมาส 4 จนถึงไตรมาส 1 ปีหน้านั้น จะมีการปรับเปลี่ยนใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้า โดยได้ประสานกับโรงไฟฟ้า ภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนน้ำมัน 250-300 ล้านบาร์เรล/เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ได้ช่วยลดการนำเข้าแอลเอ็นจีได้ นอกจากนั้น ยังมีการวางแนวทางอื่นๆ เพื่อให้ค่าไฟคงที่ อาทิ

• การยืดอายุโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะโรงที่ 8 ต่อไปอีก 2 ปี ทำให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 300 เมกะวัตต์
• การขยายการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ โรงที่ 4 ซึ่งได้หมดอายุการใช้งานไปแล้วให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ โดยอยู่ระหว่างกระบวนการขอ EIA คาดว่าจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 200 เมกะวัตต์ภายในปีนี้
• การเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศโดยเฉพาะการฟื้นฟูการผลิตในแหล่งเอราวัณรวมถึงแหล่งอื่น ๆ เช่น ซอติก้า ยาดานา ตลอดจนการหาแหล่งนำเข้า เช่นแหล่งเอ็มทีเจเอ ซึ่งเป็นแรงระหว่างมาเลเซียและไทย
• การซื้อไฟฟ้าจากประเทศ สปป. ลาว เพิ่มมากขึ้น 30% โดยให้ราคาเพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิม เพราะประเมินแล้วว่าแม้ราคาที่ซื้อได้เพิ่ม แต่มีความคุ้มค่า
• การเพิ่มปริมาณการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) พร้อมทั้งร่วมกันจัดทำแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้สถานีชาร์จระหว่างกัน ของ 3 การไฟฟ้า และ ปตท.
• การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นจาก ซึ่งจะบรรจุอยู่ในแผนพลังงานแห่งชาติ

ENRICH ENERGY ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

ENRICH ENERGY ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

สนใจ โซล่ารูฟท็อป หรือ อินเวอร์เตอร์ สามารถติดต่อเราได้ที่ 065-845-8698

ต้องการทราบรายละเอียดการติดตั้งระบบ โซล่ารูฟท็อป คลิก https://bit.ly/solarrich

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การดูแลรักษาไฟเส้น LED ให้มีประสิทธิภาพ

Solar API เทคโนโลยีใหม่ของ Google สิ่งที่ช่วยคำนวณการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทั่วโลก

โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ vs สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ใช้งานต่างกันอย่างไร?